เหรียญสมัยโบราณ
ส่วนจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์เหรียญ จะมีในส่วนของเหรียญยุคดึกดำบรรพ์ (เจ้าหน้าที่พาชม จริงๆจะมี 3 ชั้น แต่ตอนนี้ชมได้แต่ชั้น1เท่านั้นค่ะ) อีกส่วนจะเป็น เหรียญยุคโบราณ (ผู้ชมเดินดูเอง)
ในบทความนี้จะเล่าเฉพาะส่วนที่สองนะคะคือ เหรียญยุคโบราณ
เหรียญฟูนัน-ทราวดี
เหรียญศรีวิชัย
เงินตรามโน สมัยศรีวิชัย
พดด้วงสุโขทัย
พดด้วงธนบุรี
พดด้วงรัตนโกสินทร์
มูลค่าของเงินคิดตามน้ำหนัก
กำไลเงินเกลี้ยง เป็นเงินที่มีคุณสมบัติแข็งแรงทนทาน แต่สามารถตัดแบ่งเป็นขนาดต่างๆได้ ตอนผลิตก็จะหล่อให้เป็นเส้นยาวๆ แล้วเอามาม้วนขดให้ขนาดเหมาะมือคล้ายกำไล
เวลาพกพาก็จะได้สะดวก แต่ละเส้นก็จะมีรอยบากไว้ด้วยเพื่อตัดแบ่งตามมูลค่าที่ต้องการ โดยคิดจากน้ำหนักเงิน
เช่นถ้ากำไลนั้นหนัก 2 บาท แต่เราต้องการใช้แค่ 1 บาท ก็ต้องหั่นออกครึ่งนึง หรือบางทีก็ตัดเป็นเสี้ยวเล็กๆ (มันตัดแบ่งกันง่ายขนาดนั้นเลยหรอ)
เงินพดด้วง3อัฐ หนักเท่ากับสำลี 1 ก้อน
เงินพดด้วง1เฟื้อง หนักเท่ากับถุงชา1ถุง
เงินพดด้วง1สลึง หนักเท่ากับดินสอไม้1แท่ง
เงินพดด้วง 1 ไพ หนักเท่ากับคลิปหนีบกระดาษ1อัน
เงินพดด้วง 1 ชั่ง หนักเท่ากับกับ ค้อน1อัน
ฮึ่ย…งี้ใครมีเงินแค่ 1 ตำลึง ก็ซื้อสมาร์ทโฟนได้แล้วสินะ 😀
ค้อนแพงกว่าไอโฟนอีกอ่ะ 😆
ขั้นตอนการผลิตผดด้วง สมัยรัตนโกสินทร์
ขั้นตอนการผลิดพดด้วง
แต่ละชุดจะมีคนอยู่ 4 คน คอยประจำเตา และมีนายเตาเป็นหัวหน้า ช่างที่ชำนาญจะผิดพดด้วงได้วันละ 240 อัน ในรัชกาลที่4 เพิ่มชุดช่างเป็น 10 ชุด 10 เตา เพราะมีการติดต่อค้าขายกันมากขึ้น แต่ก็ยังผลิดไม่พออยู่ดี (10 เตานี่เยอะแล้วหรอคะเนี่ยะ)
ขั้นตอนที่1 ติดไฟในเตา แล้วใช้เครื่องเป่าลมทำให้ไฟลุกเยอะๆ
ขั้นตอนที่2 ตัดเศษเงินด้วยกรรไกร ใส่ลงในฝาหอยแครง แล้วนำไปชั่งบนเตาเต็งให้ได้น้ำหนักตามต้องการ แล้วค่อยนำไปใส่ลงในเบ้าหลอมเงิน
ขั้นตอนที่3 ใช้คีมคีบเบ้าหลอมที่มีเศษเงินอยู่ ใส่ในเตาไฟคอยสุมถ่าน เร่งไฟ ให้เงินละลาย
ขั้นตอนที่ 4 วางผ้าขาวบางบน “แบบแอ่งไม้รูปทรงรี” เติมน้ำเย็นจนเกือบเต็ม แล้วค่อยเทเงินหลอมลงไป แล้วใช้ไม้เขี่ยเงินให้เข้าแบบ รอให้เงินแข็งตัวก็จะกลายเป็นแท่งเงินรูปทรงรี
ขั้นตอนที่5 นำแท่งเงินที่แข็งตัวแล้ว มาวางบนทั่งเหล็กที่มีแอ่งเล็กๆหลายขนาด แล้วเอาค้อนตีสิ่วสองคม ตีลงไปที่แท่งเงิน ให้เป็นรอยบากตรงกึ่งกลาง แล้วพลิกแท่งเงิน โดยให้ด้านข้างคว่ำลงในแอ่งใหม่ที่มีขนาดพอดีกัน แล้วใช้ค้อนตีจากด้านข้างทั้งสอง และด้านบน เพื่อให้ได้รูปทรงตามต้องการ ช่างที่ชำนาญจะตีเพียง 5 ครั้งเท่านั้น
ขั้นตอนที่ 6 วางพดด้วงลงบนกระดูกขาช้าง แล้วใช้ค้อนตอกลงไปบนแม่ตราที่วางอยู่ด้านบน หรือด้านหน้าของพดด้วง เพื่อลงตราประทับ
ขั้นตอนที่7 นำไปเรียงในถาดไม้ที่มีด้ามถือและช่องตื้นๆ ซึ่งจะสามารถบรรจุพดด้วงได้ 12 20 40 และ 80 อัน เพื่อสะดวกในการตรวจนับ เมื่อนับเสร็จก็นำไปพักไว้ในถังไม้
สวัสดีค่ะ GoNoGuide มีเป้าหมายที่จะให้ข้อมูลท่องเที่ยวและวีซ่า อย่างเต็มที่ในทุกเรื่องที่เรารู้ เพื่อนๆที่ต้องการสนับสนุนเรา สามารถทำได้ดังนี้
- เลือกบริการที่ต้องการสนับสนุนเรา
- GoNoGuide จะได้รับค่าคอมมิชชั่นเล็กๆน้อยๆ โดยที่เพื่อนๆไม่ต้องจ่ายอะไรเพิ่ม สำหรับลิงค์แนะนำโรงแรม เครื่องบิน และประกันต่างๆ
- กดติดตามช่อง Youtube และ Facebook GoNoGuide
ขอขอบคุณที่สละเวลาอ่านค่ะ