ประวัติโกเบ
โกเบเป็นเมืองเอกในจังหวัดเฮียวโงะ ของญี่ปุ่น
เป็นเมืองขนาดใหญ่อันดับที่ 5 และเป็นเมืองท่าที่สำคัญ
อยู่ทางตะวันตกของโอซะกะไป 30 กม.
มีประชากรประมาณ 1.5 ล้านคน
โกเบได้มีบันทึกไว้ในพงศาวดารนิฮงโชกิ ที่กล่าวถึงการก่อตั้งศาลเจ้าอิกุตะโดยจักรพรรดิจิงกูเมื่อปีค.ศ.201
โกเบเคยถือว่าเป็นเมืองหลวงของญี่ปุ่นในช่วงระยะเวลาสั้นๆเมื่อปีค.ศ.1180 ตอนที่ซะมูไรไทระ โนะ คิโยะโมะริ (ตระกูลโชกุน)สั่งให้จักรพรรดิอันโทะคุย้ายไปอยู่ที่ฟุคุฮะระในโกเบ แต่หลังจากนั้นแค่5เดือนจักรพรรดิก็ย้ายกลับเกียวโตะ (คือจักรพรรดิไปอยู่ไหนก็ถือว่าเป็นเมืองหลวงสินะ แม้ว่าจะเป็นแค่ในนามก็ตาม)
หลังยุคคะมะกุระ โกเบได้กลายเป็นศูนย์กลางการค้า และเริ่มรู้จักกันในชื่อ “ท่าเรือเฮียวโงะ”
ยุคเอโดะ โกเบถูกแบ่งให้อยู่ภายใต้การปกครองสามส่วนด้วยกัน โดยพื้นที่ทางตะวันออกและตะวันตกจะอยู่ภายใต้การปกครองของมณฑลอะมะงะซะกิ และมณฑลอะกะชิ ส่วนพื้นที่ตรงกลางจะถูกปกครองโดยรัฐบาลโชกุลโทะกุงะวะ
แต่พอเข้ายุคเมจิ ได้มีการยกเลิกระบบศักดินา จึงได้มีการปกครองแบบจังหวัดแบบในปัจจุบัน
เมื่อปีค.ศ.1956 ก็ได้ยกให้โกเบเป็นหนึ่งในเมืองที่มีเขตการปกครองพิเศษ (คงคล้ายๆฮ่องกง)
ตอนที่ญี่ปุ่นเปิดประเทศ ประมาณปีค.ศ.1880-1910 ก็มีพ่อค้าชาวตะวันตกเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณคิตะโนะ ทางตอนเหนือของโกเบในปัจจุบัน
โกเบไม่ได้มีประวัติศาสตร์สำคัญมากนัก แม้แต่ตอนที่เป็นท่าเรือในสมัยเอโดะ ก็ยังไม่ได้ดังอะไรมากจริงแล้วเมื่อก่อนยังไม่ได้เรียกว่าโกเบ แต่รู้จักกันในนามท่าเรือเฮียวโงะเท่านั้น
แต่พอปีค.ศ.1889 ได้มีการตั้งเมือง “คันเบะ” ขึ้นมา มีความหมายว่า “ผู้ที่บริจาคในการสร้างศาลเจ้า” เพื่อระลึกถึงผู้บริจาคในการสร้างศาลเจ้าอิกุตะ แล้วก็เรียกต่อกันมาจนกลายเป็น “โกเบะ” (แต่คนไทยอ่านจากภาษาอังกฤษ Kobe กลายเป็น โกเบ)
ต่อมาในสงครามโลกครั้งที่2 โกเบถูกโจมตีทางอากาศอย่างหนัก ครั้งที่ใหญ่ที่สุดคือการทิ้งระเบิด B-29 เมื่อวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ.1945 ทำให้มีคนเสียชีวิตถึง 8,841 ราย พื้นที่หายไปกว่า21% ค่ายจิบลิยังเอามาสร้างเป็นการ์ตูนเรื่อง “สุสานหิ่งห้อย” (Grave of firefiles) ด้วย
โกเบเริ่มเจริญและเป็นเมืองท่าที่สำคัญมากตั้งแต่มีนโยบายเปิดประเทศ
ปีค.ศ.1975 ได้มีการสั่งห้ามเรือที่บรรทุกอาวุธนิวเคลียร์มาเทียบท่าเด็ดขาดเพราะถูกประชาชนกดดันอย่างหนัก
เมื่อปีค.ศ.1995 เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่แมกนิจูด 7.2 เมื่อเวลา 5.46 น. ชาวเมืองเสียชีวิตไปถึง 6,434 ราย ประชาชนไร้ที่อยู่ 212,443 คน ท่าเรือเสียหาย
(แมกนิจูดกับริกเตอร์ต่างกันอย่างไรดูที่ลิ้งค์นี้)
ริกเตอร์มักใช้กับประเทศเล็กๆอย่างไทยเพราะมันคำนวณเร็วแต่คำนวณได้ระยะทางไม่ไกลมาก ถ้าไกลๆก็จะไม่แม่นแล้ว ขนาดความแรงวัดแบบแม่นๆได้ไม่เกินเลข 7 (7ถือว่าเรุนแรง ,6 ถือว่าแรง 5 ถือว่าปานกลาง , 4 ถือว่าเบา)
แต่แมกนิจูดมักใช้กับประเทศใหญ่ๆ เวลาข่าวต่างประเทศก็มักจะเสนอข่าวในชื่อแมกนิจูด ซึ่งแมกนิจูดไม่ใช่มาตราอะไร เป็นการบอกถึงขนาด
เวลาเรียกก็จะเรียกว่า แผ่นดินไหวขนาด 7.8 (แบบนี้ให้เข้าใจว่ามันคือแมกนิจูด) แต่ถ้าเรียกว่า แผ่นดินไหวขนาด 3.0 ตามมาตราริกเตอร์ (แบบนี้ให้เข้าใจว่าใช้ตามมาตราริกเตอร์ ซึ่งก็ไม่สามารถเอามาเปรียบกับแมกนิจูดได้ ตัวเลขริกเตอร์ไม่ได้เท่ากับแมกนิจูด แต่ถ้าเขียนว่าแผ่นดินไหว 7.8 ริกเตอร์ เฉยๆแบบนี้ถือว่าผิด อ้างอิงข้อมูลจากpaipibat.com)
สรุปว่าแมกนิจูดหมายถึง”ขนาด” ส่วนริกเตอร์ เป็นมาตราวัดคลื่นแผ่นดินไหวอันหนึ่ง พูดง่ายๆคือ ริกเตอร์เป็น subset ของแมกนิจูดนั่นเอง
เป็นมาตราวัดระดับความสว่าง ที่คุ้นๆกันมากก็คือการวัดระดับความแรงของแผ่นดินไหว ประเทศไทยมักใช้คำว่าริกเตอร์แทน ซึ่งผู้คิดค้นก็คือ
แผ่นดินไหวครั้งนี้ของโกเบ ทำให้เมืองโกเบเสียหายอย่างหนัก แต่ก็ได้รับการบูรณะซ่อมแซมอย่างรวดเร็วจนกลายมาเป็นเมืองท่าที่สำคัญได้เหมือนเดิม
อาจจะดีกว่าเดิมด้วยนะ เพราะญี่ปุ่นมักจะนำประสบการณ์มาสร้างสิ่งที่ดีกว่า และถือว่าเป็นการพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสได้อยู่เสมอ
ท่าเรือโกเบเคยเป็นท่าเรือที่มีเรือเข้าออกมากที่สุดของญี่ปุ่น และติดอันดับท่าเรือชั้นนำของเอเซียซะด้วย แต่ปัจจุบันโกเบเป็นท่าเรืออันดัน4ของญี่ปุ่น และท่าเรือที่มีเรือเข้าออกมากเป็นอันดับ 49 ชองโลก (ปีค.ศ.2012) แต่น่าจะเป็นท่าเรือที่มีการท่องเที่ยวที่โดดเด่นไม่แพ้ใครแน่นอน
ข้อมูลจาก th.wikipedia.org/wiki/
สวัสดีค่ะ GoNoGuide มีเป้าหมายที่จะให้ข้อมูลท่องเที่ยวและวีซ่า อย่างเต็มที่ในทุกเรื่องที่เรารู้ เพื่อนๆที่ต้องการสนับสนุนเรา สามารถทำได้ดังนี้
- เลือกบริการที่ต้องการสนับสนุนเรา
- GoNoGuide จะได้รับค่าคอมมิชชั่นเล็กๆน้อยๆ โดยที่เพื่อนๆไม่ต้องจ่ายอะไรเพิ่ม สำหรับลิงค์แนะนำโรงแรม เครื่องบิน และประกันต่างๆ
- กดติดตามช่อง Youtube และ Facebook GoNoGuide
ขอขอบคุณที่สละเวลาอ่านค่ะ