ประวัติประเทศเช็ก
กำลังจะไปเที่ยวเช็ก ก็ต้องมาหาข้อมูล ประวัติประเทศเช็ก กันหน่อย เพื่อความอิน…
แต่เอ๊ เชค , เช็ก , เชคโกสโลวาเกีย , สาธารณรัฐเช็ก , สาธารณรัฐเชค , ปราก , Praha , Prague มันมีหลายชื่อจัง ตกลงต้องเรียกอะไร เขียนยังไงกันแน่???
เวลาเราค้นข้อมูลในกูเกิล “เที่ยวเช็ก” กูเกิลมันก็จะแนะนำคำค้นหาแบบที่คนส่วนใหญ่เขียน เป็นคำว่า “เที่ยวเชค” ใช่มั้ย มาดูคำที่เขียนถูกๆ และประวัติความเป็นมากันดีกว่าค่ะ
เช็กเกีย (ประเทศเช็กเกีย) – Czechia (ภาษาอังกฤษ) – Česko (ภาษาเช็ก)
“เช็กเกีย” เป็นชื่อเรียกสั้นๆตามภาษาอังกฤษที่เขียนว่า “Czechia” แปลเป็นไทยว่า “ประเทศเช็กเกีย”
ความรู้สึกเหมือนคำว่า “ประเทศไทย” แต่ภาษาอังกฤษเขียนว่า “Thailand”
สาธารณรัฐเช็ก – Czech Republic – Česká Republika
“สาธารณรัฐเช็ก” เป็นชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ ภาษาอังกฤษเขียนว่า “Czech Republic”
คำเขียนที่ถูกตามวิกิพีเดียคือ “สาธารณรัฐเช็ก” ไม่ใช่ “สาธารณรัฐเชค”
ความรู้สึกเหมือนคำว่า “ราชอาณาจักรไทย” แต่ภาษาอังกฤษเขียนว่า “Kingdom of Thailand”
ควรเรียกอะไรดี
ทางรัฐบาลของสาธารณรัฐเช็ก ก็พยายามสนับสนุนให้เรียกชื่อประเทศตัวเองว่า “เช็กเกีย” แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังไม่ชิน ยังเผลอเรียก เชโกสโลวาเกีย อยู่
เมื่อปี 2016 นี้เอง รัฐบาลมีมติให้เรียกว่า “เช็กเกีย” อย่างเป็นทางการแล้ว แต่เคยเจอคนเช็กมาเที่ยวเมืองไทย เขาก็ยังเรียกว่า “Czech Republic” อยู่
สรุปว่า เวลาพูดกับฝรั่ง เรียกอะไรก็แล้วแต่ความสะดวกเถอะค่ะ “เช็กเกีย” ก็ได้สั้นดี แต่ถ้าเอาตามนิยมก็ “เช็กรีพับบลิก”
ปราก – Prague – Praha
“ปราก” เป็นชื่อเมืองหลวงของ “ประเทศเช็กเกีย” ภาษาอังกฤษเรียก “Prague” (พราก) ภาษาเช็กเรียก “Praha” (พรา-หะ)
ซึ่งเมืองนี้ถือว่าเป็นศูนย์กลางความเจริญมาตั้งแต่ก่อนยุคคริสตกาลแล้วค่ะ อ่านไปเรื่อยๆนะจะเข้าใจว่าทำไมปรากถึงมีเสน่ห์ และเป็นเมืองที่คนไปเที่ยวเป็นอันดับต้นๆ
เชคโกสโลวาเกีย Czechoslovakia or Czecho-Slovakia
เป็นชื่อประเทศที่เกิดขึ้นก่อนจะจบสงครามโลกครั้งที่ 1 แค่เดือนเดียว ในปีค.ศ. 1918 ซึ่งเป็นการประกาศอิสระจากจักรวรรดิออสโตร-ฮังกาเรียน
“เชคโกสโลวาเกีย” ชื่อนี้ได้สิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการเมื่อปีปลายปีค.ศ. 1992 โดยแยกออกเป็น “ประเทศเช็กเกีย” กับ “ประเทศสโลวัคเกีย”
ในที่นี้แอดมินจะโฟกัสไปที่ประวัติ ประวัติประเทศเช็ก นะคะ
ประเทศเช็กเกียในปัจจุบัน แบ่งเป็นพื้นที่ 2 ส่วนหลัก คือ
แคว้นโบฮีเมีย (Bohemia)
ความเจริญส่วนใหญ่อยู่แคว้นนี้ทั้งนั้นค่ะ ทั้งประวัติศาสตร์ ปราสาท ราชวัง ภูเขา ธรรมชาติครบรสเลย
แคว้นมอราเวีย (Moravia)
พื้นที่ตรงนี้จะมีพวกเพาะปลูกองุ่นกันเยอะ ถ้าไปเที่ยวก็คงเน้นธรรมชาติ ชิมไวน์อะไรประมาณนี้ค่ะ
ไซลีเซีย (Silesia)
เป็นแคว้นเล็กๆที่มักถูกเรียกรวมไปกับมอราเวีย
กว่าจะมาเป็น “ประเทศเช็กเกีย” ในปัจจุบัน
ศตวรรษที่ 0-12
กว่าจะมาเป็นดินแดนประเทศเช็กเกียในปัจจุบัน
ถ้านับย้อนไปสุดๆเลย ก็เริ่มจากชาวเคลต์ ตั้งแต่ประมาณ 200 ปีก่อนค.ศ.
ต่อมาก็มีพวกชนเยอรมานิกเข้ามารุกรานอยู่เรื่อยๆ ตั้งแต่ประมาณปีค.ศ. 300
แต่หลังจากนั้นไม่นาน ก็มีนชนเผ่าสลาฟเข้ามายึดครองได้สำเร็จ ตั้งแต่ประมาณปีค.ศ.400
“ชนเผ่าสลาวอนิก” (Slavonic Tribes) หรือ “ชนเผ่าสลาฟ” ได้เริ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานในแคว้นโบฮีเมีย จนเติบโตเป็นรัฐอิสระตั้งแต่ศตวรรษที่ 9 (ค.ศ.800-899) โดยมีกษัตริย์เป็นผู้ปกครอง
ศตวรรษที่ 13-19
ต่อมาค.ศ.1212 “ชนเยอรมนิก” ก็ได้เข้ามายึดครอง ก็เลยตั้งเป็น “ราชอาณาจักรโบฮีเมีย” ซึ่งถือให้เป็นสมาชิกอิสระที่อยู่ภายใต้จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
แต่ต่อมาปีค.ศ. 1806 ก็กลายไปเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออสเตรีย อีก
ยุคสงครามโลกครั้งที่1 (ค.ศ.1914-1918)
พอหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง (ค.ศ.1918) ฝ่ายพันธมิตรที่ชนะสงคราม ก็จับรวม “ชาวเช็ก” และ “ชาวสโลวัก” ให้เป็น “ประเทศเชโกสโลวาเกีย” แต่การเมืองก็ยังคงแยกกันนะ ชาวเช็กก็อยากแยก ชาวสโลวัคก็อยากแยก
ยุคสงครามโลกครั้งที่2 (ค.ศ.1939-1945)
พอเริ่มเข้าสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ.1939) “กองทัพนาซี” ก็เข้ามายึดเชโกสโลวาเกีย
แต่พอสงครามโลกครั้งที่2 จบลง (ค.ศ. 1945) กองทัพโซเวียตก็เข้ามาปกครองเชโกสโลวาเกียอีก จึงทำให้ “ลัทธิคอมมิวนิสต์” มีอิทธิพลมากในเชโกสโลวาเกีย
หลังจากนั้น 20 ปีก็มีเหตุการณ์สำคัญ 2 เหตุการณ์ใหญ่ๆเกิดขึ้น ได้แก่
ปรากสปริง (Prague Spring ; ค.ศ.1968)
เป็นการเคลื่อนไหว โดยผู้นำชื่อ อเล็กซานเดอร์ ดุปเชค (นักปฏิรูปชาวสโลวัค) โดยอยากให้เปลี่ยนจากระบอบคอมมิวนิสต์ เป็นสังคมนิยมประชาธิปไตย แต่มันก็ไม่ง่ายนะคะ ต้องผ่านการนองเลือดมหาศาลอีกหลายสิบปี
ปฏิวัติกำมะหยี่ (Velvet Revolution)
ค.ศ.1989 คอมมิวนิสต์เริ่มเสื่อม กำแพงเบอร์ลินถูกทำลาย พอสหภาพโซเวียตล่มสลายลง (ค.ศ.1991)
คนในเชโกสโลวาเกียก็เริ่มมีความหวัง หาเรื่องเดินขบวนสร้างกระแส ก็เลยถูกปราบปรามอย่างรุนแรง ทำให้ประชาชนโกรธแค้นทนไม่ได้อีกต่อไป
แต่จนสุดท้าย ก็เอาชนะรัฐบาลได้สำเร็จ และจบลงอย่างสงบซะด้วย จึงเรียกเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า “ปฏิวัติกำมะหยี่” (ประมาณว่าปฏิวัติอย่างนุ่มนวลรึป่าว?)
สลายประเทศเชโกสโลวาเกีย
ต่อมาในปีค.ศ. 1993 ได้มีมติสลายประเทศเชโกสโลวาเกีย และแบ่งเป็น “สาธารณรัฐเช็ก” (เช็กเกีย) และ “สาธารณรัฐสโลวัก (สโลวาเกีย)”
ซึ่งกระบวนการนี้เรียกว่า “Velvet Divorce” (ห๊ะ…การเลิกลากันอย่างนุ่มนวล จากกันด้วยดีว่างั้นค่ะ)
ปี ค.ศ.1999 ก็ได้เข้าร่วม “นาโต้” และปีค.ศ.2004 ได้เข้าร่วม “อียู” จนถึงปัจจุบันนี้เองค่ะ
“เที่ยวเช็ก” ก็ต้อง “เที่ยวปราก”
ถ้าพูดถึง “ประเทศเช็กเกีย” ก็ต้องนึกถึง “ปราก” เป็นที่แรก เพราะที่นี่แหละเป็นจุดศูนย์กลางของเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่เล่ามาทั้งหมดนี้ล่ะค่ะ
ทำให้ปรากเป็นเมืองที่มีนักท่องเที่ยวมากตลอดทั้งปี เพราะเป็นเมืองที่มีสเน่ห์ มีศิลปะวัฒนธรรมหลากหลาย ผสมผสาน ตั้งแต่ของดั้งเดิมชนชาวสลาฟ ยุคจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ยุคราชวงศ์ฮับส์บูร์ก ยุคนาซี ยุคคอมมิวนิสต์
แต่กว่าจะมีสเน่ห์อย่างทุกวันนี้ ก็ต้องผ่านเรื่องเลวร้ายที่ประชาชนในประเทศ ไม่น่าจะลืมได้มานับครั้งไม่ถ้วนเช่นกันค่ะ
สรุปจากวิกิพีเดีย
สวัสดีค่ะ GoNoGuide มีเป้าหมายที่จะให้ข้อมูลท่องเที่ยวและวีซ่า อย่างเต็มที่ในทุกเรื่องที่เรารู้ เพื่อนๆที่ต้องการสนับสนุนเรา สามารถทำได้ดังนี้
- เลือกบริการที่ต้องการสนับสนุนเรา
- GoNoGuide จะได้รับค่าคอมมิชชั่นเล็กๆน้อยๆ โดยที่เพื่อนๆไม่ต้องจ่ายอะไรเพิ่ม สำหรับลิงค์แนะนำโรงแรม เครื่องบิน และประกันต่างๆ
- กดติดตามช่อง Youtube และ Facebook GoNoGuide
ขอขอบคุณที่สละเวลาอ่านค่ะ