เหรียญยุคดึกดำบรรพ์

เหรียญยุคดึกดำบรรพ์

หลังจากรอเวลารอบ 14.20 น. เจ้าหน้าที่ก็เรียกตามบัตรคิวเพื่อนำพาชมพิพิธภัณฑ์เหรียญ  แอดมินมาถึงเห็นมีกันอยู่แค่3คนเอง  เกรงใจเขาจังเลย รู้สึกเหมือนวีไอพี ถ้ามีคนเดียวจะพาเข้าคนเดียวมั้ย (ก็คงต้องเป็นอย่างนั้น)

พิพิธภัณฑ์เหรียญจะมีทั้งหมด 3 ชั้นค่ะ แต่ชั้น2กับชั้น3ยังตกแต่งไม่เสร็จ เจ้าหน้าที่จึงพาชมเฉพาะชั้น1เท่านั้น

ภาพบนเหรียญ
รูปนี้เขาจะแจกแผ่นพับให้เอาไว้เล่นแสงกับผนังแบบนี้ค่ะ คือเอาไปทาบตรงเหรียญ จะมีภาพเคลื่อนไหวฉายมาที่แผ่นพับค่ะ

ส่วนนี้ปฏิมากรรมฝาผนังสวยดีค่ะ  แต่เล่นแสงแบบนี้ไม่ค่อยสนุกเท่าไหร่ มันเห็นไม่ค่อยชัด


 

ห้องถัดไป : ฉายวิดีโอ 360 องศา

ภายในจะเป็นธีมถ้ำค่ะ แล้วมีกองไฟให้ผู้ชมนั่งล้อม แล้วหนังที่จะฉายรอบผนังถ้ำค่ะ

ส่วนนี้น่าตื่นตาตื่นใจดีค่ะ  ตื่นเต้นดีด้วย  เสียงอย่างกับในโรงหนัง มีกองไฟ(ปลอม)ดูให้อารมณ์คนถ้ำ ตั้งแต่สมัยยังไม่มีเหรียญหรือเงินไว้ซื้อของ  ที่สนุกคือพื้นมันสั่นด้วยค่ะ  ไม่น่าเบื่อ ไม่ง่วงแน่นอน

ฉายหนังในถ้ำ
ฉายหนังในถ้ำ

เนื้อหาก็ประมาณว่า สมัยโบราณที่ยังไม่มีเงิน ก็จะเริ่มต้นด้วยการแลกเปลี่ยนสิ่งของกัน เอากาแฟ ไปแลกใบชา อะไรประมาณนี้  แต่พอเกิดปัญหาผลประโยชน์ไม่ลงตัว  และยากลำบากต่อการหาสิ่งที่ต้องการ

ก็เลยมีการคิดค้นการใช้เงิน ซึ่งมันก็เริ่มจากการค้นพบแร่ธาตุ  เอามาหลอมเป็นสิ่งตัวกลางในการแลกเปลี่ยน  เรื่องมันอีกยาวค่ะ ไปดูเองละกัน สนุกดีนะ

แต่ละพื้นที่ก็จะมีสินค้าประจำถิ่นของตัวเอง ถ้าอยากได้ของอีกประเทศ ก็ต้องเอาของตัวเองไปแลก  แต่ถ้าเขาต้องการของอื่นที่ไม่ใช่ของประเทศเรา เราก็ต้องไปหาแลกของประเทศอื่น แล้วเอามาแลกกับเขาอีกที  โอ๊ย…ยุ่งยาก  เหมือนเล่นเกมส์เลย

คนโบราณกำลังเก็บเปลือกหอย เพราะมันเอาไว้ทำเป็นเงิน  ที่เขาเรียกว่าหอยเบี้ยล่ะมั๊งคะ

สิ่งที่เอาไว้แลกเปลี่ยนสิ่งของได้เช่น เหล็กรูปแบบต่างๆ ผ้าทอ เมล็ดพืช เกลือ พลอย ผ้าทอ ขนสัตว์

เงินก้อนหิน
เงินก้อนหิน

ชาวเกาะแยป ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ จ่ายค่าปรับสินไหมชดเชยด้วยเงินก้อนห้อนขนาดใหญ่ เรียกว่า “เงินเฟ”  หรือ “เงินโรย” โดยสกัดก้อนหินจนกลม เจาะรูตรงกลางเพื่อเสียบไม้คาน แล้วแบกไปวางที่หน้าบ้านผู้เสียหาย

เงินก้อนหินเหล่านี้ ทำจากหินปูนชนิดอะราโกไนต์ที่ไม่มีบนเกาะแยป  ด้องใช้การเดินทางที่ยากลำบากด้วยแพไปที่เกาะปาเลา  ไกลกว่า 400 ไมล์ทะเล  เพื่อนำหินชนิดดังกล่าวกลับมา  เหมือนเป็นการแสดงถึงความมีคุณค่าของเงินชนิดนี้ก็ได้นะคะ

 

โลหะ สินแร่ มีค่า จะมีการตีให้เป็นรูปร่างต่างๆ เอาไปแลกของได้ค่ะ

 

เงินรูปสัตว์

ในแหลมมลายูนิยมนำดีบุกมาทำเงินตราในแบบต่างๆ  รวมทั้งเงินตรารูปสัตว์  ในปลายคริสต์ศตวรรษที่18 มีการทำเหมืองดีบุกที่รัฐเปรัก  โดยมีธรรมเนียมว่าจะต้องนำดีบุกที่ขุดพบเป็นครั้งแรกมาหล่อเป็นรูปสัตว์ในท้องถิ่นหลายชนิด

เช่น  จระเข้ ไก่ ปลา นก เพื่อเซ่นไหว้เจ้าที่ก่อนนำไปขายหรือใช้ประโยชน์  โดยเงินรูปไก่ จะทำเป็นห่วงกลม จำนวน 8-9 ห่วงไว้ด้านล่าง เพื่อหักแบ่งไว้ใช้จ่าย

 

เงินลาริน 

เงินลาริน เป็นโลหะเงินที่ทำเป็นรูปตะขอซ้อนกันสองเส้น  เป็นเงินที่กองคาราวานใช้บนเส้นทางการค้าบริเวณรอบๆอ่าวเปอร์เซียในอดีต  และใช้อย่างกว้างไปจนถึงอินเดีย ศรีลังกา  และหมู่เกาะมัลดีฟส์ เรียกกันในอีกชื่อว่า เงินเบ็ดตกปลา

ก้าวแรกแห่งเหรียญกษาปณ์ 

เมื่อเข้าสู่ยุคแห่งเงินตรา  มนุษย์เริ่มรู้จักระบบน้ำหนักและตัดแบ่งโลหะให้มีน้ำหนักตามมูลค่า  แล้วนำมาตอกลวดลายเพื่อบอกแหล่งผลิต และเพื่อรับรองความถูกต้องด้วย

ชาวลิเดียนที่เคยตั้งรกรากอยู่ในตุรกีในปัจจุบัน เป็นผู้ริเริ่มการตกตราลงบนก้อนโลหะ ถือว่าเป็นคนรุ่นแรกที่มีการประดิษฐ์เหรียญที่มีตราประทับคือเมื่อประมาณ 2700 ปีที่แล้ว

โลหะที่ใช้เริ่มแรกคือ นาก  นำมาตัดแบ่งเป็นก้อนกลมตามหนัก  โดยใช้หน่วยวัดคือ “สเตเตอร์” (1 สเตเตอร์ ประมาณ 14 กรัม)

จากนั้นก็นำมาวางบนแท่นเหล็กที่แกะเป็นรูปหัวสิงโต(ใช้เป็นแม่พิมพ์ลาย) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระเจ้าแผ่นดินของชาวลิเดียน  แล้วใช้ค้อนทุบเพื่อให้เกิดลวดลาย

และถือว่าวิธีนี้เป็นการผลิตเหรียญกษาปณ์ที่เป็นต้นอารยธรรมอื่นๆต่อๆกันมา อย่างเช่น กรีก โรมัน

แท่นตราประทับ
ตราประทับเหรียญรูปสิงโต

 

ตราประทับ รูปหัวสิงโต
ตราประทับ รูปหัวสิงโต

ผู้ชมสามารถนำแผ่นพับที่ได้รับแจกมาประทับตราหัวสิงโตนี้ได้ด้วยค่ะ (ต้องกดแรงๆมากๆ แต่ก็มองแทบไม่เห็นเลยค่ะ)

รีวิวพิพิธภัณฑ์เหรียญ

สวัสดีค่ะ GoNoGuide มีเป้าหมายที่จะให้ข้อมูลท่องเที่ยวและวีซ่า อย่างเต็มที่ในทุกเรื่องที่เรารู้ เพื่อนๆที่ต้องการสนับสนุนเรา สามารถทำได้ดังนี้

  • เลือกบริการที่ต้องการสนับสนุนเรา
  • GoNoGuide จะได้รับค่าคอมมิชชั่นเล็กๆน้อยๆ โดยที่เพื่อนๆไม่ต้องจ่ายอะไรเพิ่ม สำหรับลิงค์แนะนำโรงแรม เครื่องบิน และประกันต่างๆ
  • กดติดตามช่อง Youtube และ Facebook GoNoGuide

ขอขอบคุณที่สละเวลาอ่านค่ะ


ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.