ประวัติกรุงปราก

ประวัติกรุงปราก

สรุป ประวัติกรุงปราก ตั้งแต่ ข้อมูลประชากร จุดกำเนิดกรุงปราก เรียงลำดับเหตุการณ์ตั้งแต่ศตวรรษที่ 10 ถึงปัจจุบัน

พอแอดมินอ่าน ประวัติกรุงปราก จบ ก็รู้สึกได้ว่า กว่าประเทศเขาจะเจริญ สวยงาม น่าเที่ยวในสายตานักท่องเที่ยวอย่างเราๆ เขาต้องผ่านอะไรมาเยอะแยะ

ไม่อยากคิดเลยว่าประเทศไทยอันอุดมสมบูรณ์ และสงบ ต้องผ่านเหตุการณ์อะไรแบบนั้นก่อนหรือ ถึงจะจับมือกัน รวมใจกัน และลุกขึ้นมาพัฒนาได้อย่างเขา

ข้อมูลข้างล่างนี้แอดมินรวบรวมจากวิกิพีเดีย แล้วสรุปมาให้เข้าใจง่ายๆ หวังว่าจะเพิ่มความอินในการท่องเที่ยวปรากได้เป็นอย่างดีเลยค่ะ


 

ข้อมูลประชากรเมืองปราก

ปราก มีประชากรอาศัยอยู่ 1.2 ล้านคน ความหนาแน่น 2,555 คน/ตร.กม.

เบอร์ลิน มีประชากรอาศัยอยู่ 3,4 ล้านคน ความหนาแน่น 3,831 คน/ตร.กม.

กรุงเทพฯ มีประชากรอาศัยอยู่ 10 ล้านคน ความหนาแน่น 1,400 คน/ตร.กม.

โตเกียว มีประชากรอาศัยอยู่ 13,3 ล้านคน  ความหนาแน่น 6,100 คน/ตร.กม.

เมืองปราก เพิ่งได้รับการประกาศจากองค์การยูเนสโก ให้เป็นมรดกโลกเมื่อปีค.ศ.1992 (ย้ำว่า…ทั้งเมืองนะ)


 

ประวัติกรุงปราก
สีขาว = สาธารณรัฐเช็ก , สีแดง = กรุงปราก ภาพจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Prague#/media/File:Hlavn%C3%AD_mesto_Praha_in_Czech_Republic.svg

ประวัติความเป็นมาของปราก

เริ่มจากชาวเคลต์ ตั้งแต่ยุคก่อนค.ศ.200 (มาจากทางอังกฤษ) หลังจากนั้นก็มีชนเยอรมานิกเข้ามารุกรานบ้าง แต่หลังจากนั้นชาวสลาฟก็เข้ามายึดครองแคว้นโบฮีเมียได้สำเร็จ ตั้งแต่ประมาณปีค.ศ.400

ช่วงนี้เป็นช่วงที่วัฒนธรรมของชนเยอรมานิก กับชาวสลาฟได้ผสมผสานกัน

จนกระทั่งดินแดนแห่งนี้ได้เติบโตเป็นรัฐอิสระ ตั้งแต่ศตวรรษที่ 9 มีกษัตริย์เป็นผู้ปกครอง


 

ยุคศตวรรษที่ 10 (ค.ศ.900-999)

เป็นยุคที่เมืองปรากถือว่าเป็นศูนย์กลางการค้าขายที่สำคัญแห่งหนึ่งในยุโรปตะวันออกเลย  มีผู้คนหลากหลายเชื้อชาติเข้ามาทำการค้า แน่นอนว่า “ชาวยิว” ก็มาแน่นอน

ทำให้เชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม มีการผสมผสานกันอย่างมาก


 

จุดกำเนิดของกรุงปราก

เจ้าหญิงลิบูเช (Libuše) แต่งงานกับเจ้าชายเปรมิเซล (Premysl) แล้วได้เริ่มก่อตั้งราชวงศ์เปรมิเซลขึ้น

มีการก่อสร้างปราสาทชื่อว่า “ลิบูซิน” (Libusin) ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางของแคว้นโบฮีเมีย (แต่ไม่ใช่ปราสาทปรากนะ)

มาถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่9 กษัตริย์บอริวอจ พรีมิสโลเวก (Borivoj Premyslovec) ก็สร้างปราสาทสูงใหญ่ขึ้นมาอีก โดยให้ชื่อปราสาทแห่งนี้ว่า ปราฮา (Praha) (แต่ก็ยังไม่ใช่ปราสาทปรากนะ)

 

ต่อมาลูกชายของกษัตริย์บอริวอจที่ชื่อ วราติสลาฟที่ 1 (Vratislav I)  ก็ขึ้นครองราชย์แทน แล้วก็แต่งงานกับเจ้าหญิงคนนึง ชื่อ ดราโกมอีรา (DragomÍra)

พอกษัติย์วราติสลาฟที่ 1 ตาย เจ้าหญิงดราโกมอีรา ก็สั่งประหารแม่สามี แล้วครอบครองบัลลังก์ต่อ

แต่สุดท้ายก็ต้องยกอำนาจให้เจ้าชายเวนเซสลัส (Wenceslas ; ค.ศ.921) ซึ่งเป็นลูกชายแท้ๆ เฉลิมพระนามว่า “เวนเซสลัสที่ 1 ดยุกแห่งโบฮีเมีย” (Wenceslas I Duke of Bohemia)

 

พระเจ้าเวนเซสลัสที่ 1 ได้มีการสานสัมพันธไมตรีกับชนชาติเยอรมัน และสนับสนุนศาสนาคริสต์ มีการสร้างมหาวิหารเซนต์วิตุสอีกด้วย

เลยทำให้พวกเสนามนตรีที่อยูกลุ่มเจ้าหญิงดราโกมอีราไม่พอใจ เพราะพวกนี้ไม่นับถือคริสต์ ก็เลยจัดการลอบสังหารพระเจ้าเวนเซสลัสที่ 1 แล้วยกให้น้องชายคือ เจ้าชายโบเลสลาฟ (Boleslav) ขึ้นครองราชย์แทน


 

ยุคศตวรรษที่ 13 (ค.ศ.1200-1299)

ต่อมาค.ศ.1212 “ชนเยอรมนิก” ก็ได้เข้ามายึดครอง ก็เลยตั้งเป็น “ราชอาณาจักรโบฮีเมีย”  ซึ่งถือให้เป็นสมาชิกอิสระ ที่อยู่ภายใต้จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์


 

ยุคศตวรรษที่ 14 (ค.ศ.1300-399)

ต่อมาก็มีการแต่งงานกับกษัตริย์ราชวงศ์ลักเซมเบิร์ก ตั้งแต่นั้นมา ราชวงศ์ลักเซ็มเบิร์กจึงได้เข้ามามีบทบาทในดินแดนนี้

ยุคของกษัตริย์คาร์ลที่4 แห่งราชวงศ์ลักเซ็มเบอร์ก  เป็นยุคที่เฟื่องฟูมาก และยุคนี้แหละที่มีการสร้างสะพานที่สวยที่สุดแห่งหนึ่ง สะพานในตำนานที่ชื่อว่า Charl Bridge แห่งกรุงปราก

 

บริเวณสะพานคาร์ล มีจุดสำคัญที่นักท่องเที่ยวสนใจมากคือ รูปปั้นของ John of Nepomuk ซึ่งเป็นบาทหลวงที่มีอิทธิพลมากในยุคนั้น  ใครไปก็ต้องไปลูบรูปปั้นนี้(จนสีลอกเป็นวงๆ) แล้วขอพรค่ะ แถมยังมีรูปปั้นแกะสลักที่เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในวันนั้นด้วย  คือเรื่องมันมีอยู่ว่า…

ปีค.ศ.1393 ในสมัยของลูกของกษัตริย์คาร์ลที่4 ที่ชื่อ กษัตริย์เวนเซสลัสที่4 (Wenceslas IV) ได้สั่งจับ John of Nepomuk เอามาทรมาณ แล้วเอาไปถ่วงน้ำ โดยโยนลงมาจากสะพานคาร์ลจนเสียชีวิต (ตรงจุดที่มีรูปปั้นอยู่นั่นแหละ)

เหตุที่โดนถ่วงน้ำก็เพราะราชินีไปสารภาพบาปกับบาทหลวงคนนี้ แต่บาทหลวงไม่บอก เพราะเป็นวินัยน่ะค่ะ


 

ยุคศตวรรษที่ 15 (ค.ศ.1400-1499)

อีกจุดนึงที่ต้องไปรำลึกก็คือ New Town Hall ของเมืองปราก เพราะตรงหน้าต่างบานนึง เคยเป็นจุดที่มีการโยนที่ปรึกษาเมืองปรากลงมาเสียชีวิตด้วย  เรื่องมันมีอยู่ว่า…

เนื่องจากการปฏิรูปศาสนา ย่อมส่งผลกระทบต่อระบอบกษัตริย์ด้วย ช่วงนั้นก็เลยเกิดสงครามภายในถึง 4 ปี

สุดท้ายนักเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการปฏิรูปศาสนา ก็เกิดความกดดันมาก และไม่พอใจที่ผู้นำของเขาที่ชื่อ Jan Hus โดนสั่งประหาร ก็เลยจับตัวการณ์โยนลงมาจากห้องทำงานซะเลย

 

หลังจากเหตุการณ์นั้น 16 วัน กษัตริย์เวนเซสลัสที่4 ก็สิ้นพระชนม์  น้องชายคนละแม่ที่ชื่อ Sigsmund ก็ขึ้นเป็นกษัตริย์แทน

เหล่าสาวกของ Jan Hus ที่แค้นกษัตริย์คนนี้เพราะบอกว่าจะคุ้มครอง Jan Hus ตอนเชิญให้เข้ามาปราศรัยในเมือง แต่ก็ไม่รักษาคำพูด

ก็เลยเกิดการปะทะกันอย่างรุนแรง แต่สุดท้ายพอผู้นำกลุ่มตาย ทุกคนก็แตกกระจายไปในที่สุด

 

หลังจากกษัตริย์ซิกส์มุนด์สิ้นพระชนม์ ก็ถือว่าเป็นจุดจบสิ้นของราชวงศ์ลักเซ็มเบิร์ก

แล้วกษัตริย์อัลเบิร์ท ดยุคแห่งออสเตรีย(ลูกเขยของซิกส์มุนด์) ก็ขึ้นครองราชย์แทน แต่ก็อยู่ได้แค่ 2 ปี

ก็เลยให้ Ladislav Pohrobek (หลานยของซิกส์มุนด์) ขึ้นเป็นกษัตริย์ต่อ  แต่ก็อายุสั้นอีก

สุดท้ายส้มก็เลยไปหล่นอยู่ที่นักบวชโปรเตสแตนต์ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาในราชวงศ์ Ladislav ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์แทน โดยมีการสนับสนุนส่วนหนึ่งจากกลุ่มสาวกของ Jan Hus นั่นเอง

แต่สันตะปาปาไม่เห็นด้วย ก็เลยยกกองทัพคริสต์ ทำสงครามครูเสดต่อต้านโบฮีเมีย ซึ่งเป็นสงครามที่มีการสูญเสียอย่างใหญ่หลวงทีเดียว

 

สุดท้ายทั้งสองฝ่ายก็ต้องทำสัญญาสงบศึกกัน  โดยตกลงให้โบฮีเมีย ถูกปกครองโดยมีกษัตริย์ 2 องค์ ได้แก่  King Matthius Corvinus (ฝ่ายคาทอลิก)  และ King George of Podebrady (ฝ่ายโปรเตสแตนต์)

ทำให้พวกโปรเตสแตนท์โกรธ ที่ King George ซึ่งเป็นโปรเตสแตนต์ ดันไปร่วมมือกับแคทอลิก  ก็เลยจับผู้ว่าเมืองปรากโยนลงหน้าต่าง (อีกแล้ว…)


 

ยุคศตวรรษที่ 16 (ค.ศ.1500-1599)

หลังหมดยุคของ King George ก็เป็นยุคของราชวงศ์ Jagellon แต่ก็หมดผู้สืบทอดในค.ศ.1526 เท่านั้น

กษัตริย์ที่ได้มารับช่วงแทนก็คือ Ferdinand  Habsburg เป็นเชื้อสายเยอรมัน ซึ่งนับถือแคทอลิก แต่ในขณะที่ประชาชนปรากนับถึอโปรเตสแตนต์

 

ยุคนี้ได้เกิดไฟไหม้กรุงปรากครั้งใหญ่ ทำให้ปราสาทปรากถูกทำลายไปบางส่วนด้วย

 

เนื่องจากความไม่ลงรอยกันทางด้านศาสนา ครั้นเมื่อเกิดสงคราม ประชาชนปรากก็เลยไม่ยอมไปช่วยรบแต่ กษัตริย์ Ferdinand ก็ยังคงได้รับชัยชนะ  พอกลับจากการรบ ก็เลยลงโทษชาวปรากด้วยการริบทรัพย์ ฆ่าประจารมากมาย

แต่จำเป็นต้องปรนเปรอราชนิกูลเชื้อสายปราก เพื่อป้องกันกบฏนั่นเอง

ต้องยอมรับว่า ต่อมาในสมัยกษัตริย์ Rudolf II  เป็นยุคที่ศิลปะ และสถาปัตยกรรมเฟื่องฟูมาก สิ่งก่อสร้างสไตล์บารอคสวยๆที่เราเห็นในกรุงปราก ก็มาจากยุคนี้เช่นกัน


 

ยุคศตวรรษที่ 17 (ค.ศ.1600-1699)

กษัตริย์ Rudolf II ปกครองแบบให้เสรีภาพกับประชาชนในการนับถือศาสนา  ทำให้จักรวรรดิโรมันไม่พอใจ ก็เลยปลดกษัตริย์ Rudolf II   แล้วตั้ง Matthius ขึ้นเป็นกษัตริย์แทน

หลังจากนั้นสถานการณ์ด้านศาสนาก็เริ่มมีปัญหาขึ้นมาอีก มีการลิดรอนสิทธิ ขับไล่ ประหารพวกโปรเตสแตนท์

ครั้งที่เลวร้ายครั้งนึงคือ ฝ่ายบริหารถึงกับถูกโยนออกทางหน้าต่างที่สูงถึง 16 เมตร (ทำไมชอบโยนออกทางหน้าต่างจัง)  แต่ไม่น่าเชื่อว่าพวกที่ถูกโยนลงมากลับรอดชีวิตได้อีก

 

ต่อมาก็มีการจราจล สุดท้ายพวกโปรเตสแตนท์ก็เป็นฝ่ายชนะ แล้วได้เลือก Frederick V มาเป็นกษัตริย์

แต่เพียงแค่ 2 ปีต่อมา ฝ่ายโปรเตสแตนท์(ชาวปราก) กับฝ่ายคาทอลิก(จักรวรรดิโรมัน) ก็มีการทำสงครามกันอีก สุดท้ายฝ่ายคาทอลิกก็ชนะ

ผู้แพ้ก็ย่อมถูกทำโทษ ทั้งการทรมาณสารพัด ตัดหัวประจาน แล้วสถานที่เสียบหัวก็ไม่ใช่ที่ไหน ก็สะพานคาร์ลแห่งกรุงปรากนั่นเอง ส่วนพวกโปรเตสแตนท์ที่เหลือก็ถูกบังคับให้เข้ารีตเป็นคาธอลิก


 

ยุคศตวรรษที่ 18 (ค.ศ.1700-1799)

ยุคนั้นออสเตรีย และปรัสเซียเป็นดินแดนที่ยิ่งใหญ่ครอบคลุมอาณาเขตที่กว้างขวางมาก ทั้งสองฝ่ายมีการแย่งสิทธิในการยึดครองโบฮีเมีย  แต่สุดท้ายก็ได้ Albert แห่งบาวาเรียเป็นกษัตริย์แห่งโบฮีเมีย

 

บาวาเรีย กับออสเตรียเป็นพันธมิตรที่แน่นแฟ้นต่อกัน บาวาเรียได้ แปลว่าออสเตรียได้เช่นกัน

 

ฝ่ายปรัสเซียเจ็บแค้น ก็พยายามก่อกวนโบฮีเมียอยู่เรื่อยๆ ครั้งที่ใหญ่มาก 2 ครั้งคือ ครั้งที่ยกทหารมาปล้นโบฮีเมียถึง 8 หมื่นคน แต่กองทัพออสเตรียก็สามารถขับไล่ปรัสเซียได้สำเร็จ

อีก 10 กว่าปีถัดมา ปรัสเซียก็ยกพลกว่าแสนคนมาปล้นโบฮีเมียอีก ครั้งนี้ใหญ่กว่าครั้งแรกมาก แต่ก็ถูกออสเตรียขับออกไปได้สำเร็จอีก

จะเห็นได้ว่า ช่วงนั้นเป็นช่วงที่ออสเตรียแข็งแกร่งสุดๆ ซึ่งก็คือยุคของพระนางมาเรีย เทเรซ่า แห่งออสเตรียนั่นเอง ซึ่งพระนางไม่เพียงแค่เป็นราชินีของออสเตรียเท่านั้น  ยังถือว่าเป็นราชินีแห่งโบฮีเมีย ฮังการี และโครเอเชียอีกด้วย


 

ยุคศตวรรษที่ 19 (ค.ศ.1800-1899)

แต่อย่าลืมว่าชาวเช็กเดิม หรือชาวสลาฟเดิม ไม่ใช่ชาวเยอรมานิก  เขาก็มีวัฒนธรรมดั้งเดิมของเขา หลังจากผ่านยุครุ่งเรื่องของออสเตรีย ซึ่งมีการสนับสนุนในทุกๆด้าน โดยเฉพาะการศึกษา

ทำให้ทั้งภาษาต่างๆ สิทธิต่างๆ เท่าเทียมกับเยอรมัน จนกระทั้ง ชาวเช็กได้ขึ้นเป็นผู้นำ แทนชาวเยอรมันที่เป็นใหญ่มานับหลายร้อยปี


 

ยุคศตวรรษที่ 20 (ค.ศ.1900-1999)

ยุคนี้เป็นยุคสงครามโลกครั้งที่1 ซึ่งมีการเคลื่อนไหวอย่างลับๆของกลุ่มผู้ต้องการอิสรภาพในเช็ก

เมื่อจบสงครามโลกครั้งที่1 ออสเตรียเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ทำให้มีการรวมประเทศกันระหว่าง เช็ก กับ สโลวัค เป็น เชโกสโลวาเกีย โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข

 

20 กว่าปีต่อมาก็เกิดสงครามโลกครั้งที่2 ขึ้นอีก โดยฮิตเลอร์ได้เข้ามายึดครองเชโกสโลวาเกีย ซึ่งมีการล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวเป็นจำนวนมหาศาล

ปลายสงครามโลกครั้งที่2 กรุงปรากถูกอเมริกาทิ้งระเบิด เหตุเพราะเล็งผิดเป้า นึกว่าเป็นเดรสเดนของเยอรมนี  (มันไกลกันมากนะ จะผิดได้ไง)

หลังสงครามโลกครั้งที่2 เชโกสโลวาเกียก็ถูกรัสเซียเข้าครอบครองอีก ซึ่งมีการล้างแค้นคืน โดยจับทรมาน ฆ่าล้างชาวเยอรมันผู้บริสุทธิ์มากมาย และเปลี่ยนประเทศเป็นคอมมิวนิสต์

 

หลังจากนั้นก็เป็นช่วงระส่ำระสายเกี่ยวกับการเมือง มีการโยนฝ่ายบริหารลงหน้าต่าง (อีกแล้ว) มีการสังหารชาวเช็กที่ไม่เห็นด้วยกับระบบอคอมมิวนิสต์ ซึ่งเป็นระบอบที่ยิ่งกระทืบเศรษฐกิจของประเทศให้ตกต่ำ

จนกระทั่งมาถึงยุคของผู้นำ Alexander Dubček ซึ่งเป็นชาวเช็ก ได้พยายามให้สิทธิเสรีภาพ  แต่สุดท้าย Alexander Dubček ก็ต้องถูกข่มขู่ให้ทำตามที่รัสเซียบอก ทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธาผู้นำคนนี้ แล้วยังกล่าวหาว่าเป็นทรราชย์อีกด้วย เหตุการณ์ในยุคนั้นถูกเรียกว่า ปรากสปริง (Prague Spring ; ค.ศ.1968)

 

ประธานาธิบดีคนถัดๆมาก็ได้แก่ Gustáv Husák และ ต่อมาที่เราคุ้นชื่ออย่างดีก็คือ มีฮาอิล กอร์บาชอฟ ยุคนั้นเป็นยุคที่ประเทศต่างๆในครอบครองของสหภาพโซเวียตที่กำลังอ่อนแอ เริ่มปลีกตัวออก ได้แก่ โปแลนด์ ฮังการี บัลกาเรีย กำแพงเบอร์ลินก็ถูกทำลายในช่วงนี้ด้วย ทำให้เชโกสโลวาเกียเริ่มเอาบ้าง

โดยมีการเดินขบวน ก่อจราจลในใจกลางกรุงปรากกว่า 1.5 ล้านคน และสุดท้ายประชาชนก็เป็นฝ่ายชนะอย่างสงบ จึงเรียกเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า “ปฏิวัติกำมะหยี่” (ประมาณว่าปฏิวัติอย่างนุ่มนวลรึป่าว?)

 

หลังจากนั้นก็มีการปฏิรูปเศรษฐกิจ และแบ่งเป็นสองสาธารณรัฐอิสระ ได้แก่ สาธารณรัฐเช็ก และสาธารณรัฐสโลวัก ซึ่งกระบวนการนี้เรียกว่า “Velvet Divorce” (ห๊ะ…การเลิกลากันอย่างนุ่มนวล จากกันด้วยดีว่างั้นค่ะ)


 

 

 

สวัสดีค่ะ GoNoGuide มีเป้าหมายที่จะให้ข้อมูลท่องเที่ยวและวีซ่า อย่างเต็มที่ในทุกเรื่องที่เรารู้ เพื่อนๆที่ต้องการสนับสนุนเรา สามารถทำได้ดังนี้

  • เลือกบริการที่ต้องการสนับสนุนเรา
  • GoNoGuide จะได้รับค่าคอมมิชชั่นเล็กๆน้อยๆ โดยที่เพื่อนๆไม่ต้องจ่ายอะไรเพิ่ม สำหรับลิงค์แนะนำโรงแรม เครื่องบิน และประกันต่างๆ
  • กดติดตามช่อง Youtube และ Facebook GoNoGuide

ขอขอบคุณที่สละเวลาอ่านค่ะ


3 thoughts on “ประวัติกรุงปราก”

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.