เกอิชา

เกอิชา

Gion เป็นชื่อตำบลหนึ่งของเกียวโต ติดกับตำบล Hagashiyama ที่เป็นที่ตั้งของ Kiyomizudera ซึ่งเดินถึงกันได้ไม่ไกลเลย

ย่าน Gion อยู่ใกล้ Yasaka Shrine มากสามารถเดินถึงกันได้ภายใน 10 นาที  มีทั้งร้านค้า ร้านอาหาร และโรงน้ำชาหรือเขาเรียกกันว่า ochaya

นอกจากนี้ยังมีสตรีที่มีอาชีพที่ชำนาญทางศิลปะและให้ความเพลิดเพลินบันเทิงใจ เหมือนผู้คอยต้อนรับ และปรนนิบัติแขกที่คนญี่ปุ่นเรียกกันว่า เกอิชา – geisha  ส่วน เกอิชา ที่อยู่ในช่วงฝึกหัดอยู่จะเรียกว่า ไมโกะ – maiko

เกอิชา เป็นอาชีพเก่าแก่ตั้งแต่สมัยก่อนแล้ว พบว่าในปีค.ศ.1920 มี เกอิชาถึง 80,000 คนเลยทีเดียว แต่ปัจจุบันเหลือน้อยมาก แต่ก็ยังมีเพื่อสืบสานวัฒนธรรมกันต่อไป

ปกติแล้วภาษาญี่ปุ่นจะออกเสียงคำว่า geisha ว่า “เกชะ”  แต่ในแถบคันไซ หรือที่เรากำลังไปย่าน Gion ในเกียวโตนั้น จะเรียก geisha ว่า “เกงิ” ส่วน maiko จะเรียกว่า “เกโกะ”

แต่ในช่วงที่อเมริกาเข้ามาญี่ปุ่นจะมีหญิงขายบริการแอบแฝงในชื่อ เกอิชา ก็เลยทำให้หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าเกอิชา ก็คือหญิงขายบริการ ซึ่งจริงๆแล้วไม่ใช่เลย

อาชีพเกอิชาพัฒนาการมาจากตลกหลวงในราชสำนัก  ซึ่งเกอิชาสมัยก่อนจะเป็นผู้ชายหมด ส่วนผู้หญิงจะเรียกกันว่า “อนนะ เกชะ” หรือเกอิชาหญิง  แต่ปัจจุบันถ้าพูดถึงเกอิชาก็ต้องเป็นผู้หญิงเท่านั้น

อาชีพเกอิชาเป็นอาชีพที่น่ายกย่องอาชีพหนึ่ง เพราะต้องถูกฝึกตั้งแต่เด็ก  โดยสำนักเกอิชาจะซื้อตัวเด็กผู้หญิงมาจากครอบครัวยากจน  แล้วนำมาเลี้ยง เริ่มจากการเป็นหญิงรับใช้

นักเรียนจะอาศัยอยู่ที่บ้านครูฝึก ทั้งทำงานบ้าน คอยดู คอยสังเกต พฤติกรรมต่างๆของครูปและรุ่นพี่ จะได้ซึมซับตั้งแต่เด็ก

พอฝึกจนชำนาญก็จะได้เป็นเกอิชา และสามารถขึ้นสู่ตำแหน่งครูฝึกได้ด้วย ซึ่งก็ต้องใช้เวลาหลายปีมาก

เด็กสาวจะได้เรียนศิลปะหลายแขนง เช่น เครื่องดนตรี ร้อง เต้น ชงชา จัดดอกไม้ ขับบทกลอน การแต่งชุดกิโมโน รวมถึงการพนันหลายรูปแบบด้วย การรู้จักการสนทนา ชวนคุย การโต้ตอบกับลูกค้า

ย้ำอีกครั้งนึงว่า เกอิชาไม่ใช่อาชีพโสเภณี  แม้ว่าในอดีตก็มีการขายบริการทางเพศกันอย่างเสรีอยู่แล้ว แต่เกอิชาก็ไม่จำเป็นต้องให้บริการทางเพศ

โสเภณีกับเกอิชามีความต่างกันตรงที่  โสเภณีจะมีสายโอบิที่ใช้ผูกชุดมัดไว้ข้างหน้า (จะได้แกะง่ายๆ) และมักจะมีเครื่องประดับหรูหรา ฟู่ฟ่า   แต่ในขณะที่เกอิชาจะผูกสายโอบิไว้ด้านหลังตามการแต่งชุดกิโมโนทั่วไป เครื่องประดับก็เรียบง่ายแต่สวยมีศิลปะ

เกอิชาสมัยใหม่นี้ไม่ได้ถูกซื้อตัวหรือพามาตั้งแต่เด็กเหมือนเมื่อก่อนอีกแล้ว  แต่เกอิชาสมัยใหม่จะเริ่มฝึกตั้งแต่ช่วงวัยรุ่นตอนปลาย และเป็นไปตามความสมัครใจ แต่ก็ยุ่งยากมากในการฝึกฝนเพราะไม่ได้สอนกันง่ายๆเหมือนเด็กๆ

สมัยนี้เกอิชาจะมีหน้าที่ปรนนิบัติคนเป็นหมู่คณะ ในโรงน้ำชาบ้าง ร้านอาหารแบบดังเดิมบ้าง  โดยเวลาใช้บริการจะใช้ธูปจุดเป็นเกณฑ์วัด เขาเรียกกันว่า “เซนโกได” หรือแปลว่า “ค่าธูป”  เวลานัดก็ต้องติดต่อผ่านสำนักเกอิชาหรือเรียกว่า “เค็นมัน”

ผู้หญิงที่มีอาชีพเกอิชาจะเลิกอาชีพนี้ได้ก็มีสองอย่างคือ แต่งงาน หรือไม่ก็อายุมากขึ้น ผันตัวเองเป็นไปเปิดร้านอาหาร หรือครูสอนดนตรี เต้นรับ หรือไม่ก็เป็นครูสอนเกอิชาต่อไป

อ่านมาถึงตรงนี้ก็อาจจะยังไม่เชื่อว่าอาชีพเกอิชาจริงๆไม่ใช่โสเภณี แต่เป็นอาชีพหนึ่งที่มีศักดิ์ศรีอาชีพหนึ่ง เลยจะยกตัวอย่างชาวออสเตรเลียคนนึงชื่อ ฟิโอนา เกรอัม เกิดในเมลเบิร์น จบจากออกซ์ฟอร์ด เป็นทั้งนักมานุษยวิทยา อาจารย์สอนหนังสือในญี่ปุ่น  ผู้ผลิตและผู้กำกับภาพยนตร์สารคดี  ทำงานที่สถานีโทรทัศน์ดังๆในญี่ปุ่น  ชื่อภาษาญี่ปุ่นของ ฟิโอนา คือ ซายูกิ

ซายูกิได้เริ่มฝึกเป็นเกอิชาเป็นเวลา 1 ปี และกลายเป็นเกอิชาเต็มตัว  เป็นเกอิชาคนแรกที่เป็นฝรั่ง  ได้ทำหน้าทีเกอิชาอยู่แถวอาซาคุซะ ในโตเกียว

ย่าน Gion ที่เราจะไปนี้ก็จะมีทั้งร้านอาหาร ร้านต่างๆ ที่น่าจะมีเกอิชาด้วยอยู่แล้ว ทำให้คิดว่าน่าจะมีโอกาสเดินสวนกันบ้าง และถ้าเจอเกอิชาก็ควรรักษามารยาท ให้ความเคารพสิทธิเหมือนคนคนนึงด้วยค่ะ

ที่มา wikipedia.org

ดูรีวิวที่แอดมินไปสัมผัสย่านกิออนนี้มาได้ที่นี่ค่ะ

สวัสดีค่ะ GoNoGuide มีเป้าหมายที่จะให้ข้อมูลท่องเที่ยวและวีซ่า อย่างเต็มที่ในทุกเรื่องที่เรารู้ เพื่อนๆที่ต้องการสนับสนุนเรา สามารถทำได้ดังนี้

  • เลือกบริการที่ต้องการสนับสนุนเรา
  • GoNoGuide จะได้รับค่าคอมมิชชั่นเล็กๆน้อยๆ โดยที่เพื่อนๆไม่ต้องจ่ายอะไรเพิ่ม สำหรับลิงค์แนะนำโรงแรม เครื่องบิน และประกันต่างๆ
  • กดติดตามช่อง Youtube และ Facebook GoNoGuide

ขอขอบคุณที่สละเวลาอ่านค่ะ


ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.